วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เพื่อสุขภาพ

สวัสดีครับคุณผู้อ่าน
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม blog นี้ จริงๆแล้วอยากเขียนบทความเองบ้างแต่ยังนึกไม่ออกว่าจะเขียนอย่างไร เลยหาบทความหรือข้อความที่น่าสนใจมาฝากทุกท่านก่อน คราวนี้มีคนส่ง mail ให้ผม ผมเห็นว่าน่าสนใจและมีประโยชน์เลยนำมาฝากลองอ่านดูนะครับ
หนังสือชื่อ ' ยามหัศจรรย์สำหรับคุณ '
1. ปวดหัว กินปลามากๆ ทั้งปลาทะเล ปลาน้ำจืด น้ำมันจากปลามีสรรพคุณป้องกันการปวดหัว กินพร้อม ๆ กับขิง จะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวลง

2. แพ้ละออง เป็นแพ้ทั้งฝุ่นและเกสรดอกไม้ ให้กินโยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว

3. โรคหัวใจ ดื่มชาเขียว เป็นประจำ สารในชาเขียวช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันไปจับตัวตามผนังหลอดเลือด

4. โรคนอนไม่หลับ ดื่มน้ำผึ้ง เป็นประจำ สารในน้ำผึ้งมีฤทธิ์เป็นยากล่อมประสาททำให้นอนหลับฝันดี

5. โรคหืดหอบ กินหอม ต้นหอม หรือ หัวหอม ก็ได้มีตัวยาทำให้หลอดลมปลอดโปร่ง

6. โรคไขข้ออักเสบ กินปลาเท่านั้น แก้ไขเป็นปกติได้ ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า (ปลาโอ) ปลาแมคเคอเรล ปลาซาดีนส์ ( ปลากระป๋อง ) น้ำมันปลาทำให้โรคไขข้ออักเสบบรรเทาลง

7. ท้องผูก ท้องอืด ให้กินกล้วย หรือ ขิง กล้วยทำให้ไม่ท้องผูก และขิงทำให้อาการคลื่นไส้ในตอนเช้าหายไป

8. ติดเชื้อในถุงกระเพาะปัสสาวะ ให้ กินน้ำคั้นจากลูกแคนเบอรี (ไม้เมืองหนาว) กรดเข้มข้นในลูกไม้ฆ่าแบคทีเรียได้

9.. โรคหงุดหงิด ฟุ้งซ่านโดยเฉพาะเกิดในผู้หญิงสูงอายุด้วย ให้กินข้าวโพดช่วยบรรเทาอาการเครียด วิตกกังวล และความคิดสับสนได้

10. โรคกระดูกพรุน ทั้งกระดูกเปราะและแตกง่าย แก้ไขได้โดยให้กินสับปะรด ซึ่งมีสารแมงกานีสอยู่มาก ช่วยให้กระดูกแข็งแรงได้

11. ความจำเสื่อม แก้ไขโดย กินหอยนางรม หอยแครงหรือหอยอื่น ๆ ซึ่งในเนื่อหอยมีสารสังกะสีช่วยบำรุงสมองได้ดี

12. เป็นหวัด กินกระเทียม ทำให้จมูกโปร่ง สมองโล่ง กระเทียมช่วยลดไขมันในเลือดได้อีกด้วย

13. ไอ จาม กินพริกแดง สารที่นำมาทำยาแก้ไอนั้นสกัดมาจากพริกแดง
โดยเฉพาะรำข้าวกะหล่ำปลี ช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนได้ในปริมาณที่เหมาะสม ข้อสำคัญอย่ากินไก่มาก เพราะใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในการเร่งการเจริญเติบโต ช่วยให้อาการปั่นป่วนในท้องเมื่อเชื้อโรคบิดเล่นงานทุเลาลง ที่มีอยู่ในผลไม้ชนิดนี้ทำลายไขมันเลว ' คลอเลสเตอรอล ' ได้ ทำให้ระดับความดันเลือดลดลง ซึ่งมีอินซูลินทำให้น้ำตาลในเลือดสมดุลได้ พืชผักที่กินเป็นอาหารประจำวันนั้นนอกจากจะอิ่มท้องแล้วยังมีสรรพคุณช่วยสร้างความสมดุลภายในร่างกายช่วยป้องกันและรักษาโรคภัยไข้เจ็บชนิดต่างๆได้ถ้าได้เรียนรู้ที่จะรู้จักเลือกกินให้เหมาะกับตนเอง โดยเฉพาะพืชสมุนไพรไทยนั้นนับเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของคนไทยเป็นภูมิปัญ ญาชาวบ้านในท้องถิ่นอันควรปกป้องหวงแหนและอนุรักษ์ไว้ให้เป็นมรดกแก่ลูกหลาน ไทยขอให้ช่วยกันป้องกันไม่ให้ตกไปอยู่ในมือของคนต่างชาติที่จ้องฉกฉวยผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของ เราไปเป็นของตนทุกวิถีทาง ดังนั้นอนุชนรุ่นหลังจึงควรที่จะได้นำมาศึกษา ค้นคว้า และคิดค้นตามแนวทางที่บรรพบุรุษของเราท่านได้วางพื้นฐานไว้ให้เพื่อนำมาใช้ ให้เป็นประโยชน์ในด้านโภชนาการของคนไทยต่อไป.

14. มะเร็งเต้านม กินข้าวสาลี รำข้าว และกะหล่ำปลีจะช่วยป้องกันได้ดี

15. มะเร็งปอด กินส้ม และ ผักใบเขียว มีวิตามินเอ อยู่มากจะช่วยป้องกันการก่อพิษของสารเบต้าแคโรทีน

16 แผลในกระเพาะอาหาร กินกะหล่ำปลี ซึ่งมีสารเคมีช่วยทำให้แผลเรื้อรังในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กหายขาดได้

17. โรคท้องร่วง กินแอปเปิ้ลสดทั้งเปลือก

18. เส้นเลือดตีบ กินผลอโวคาโด แก้ได้เพราะไขมันดี 'โมโรอันแซตเทอเรต'

19. ความดันโลหิตสูง กินผลโอลีฟ และผักขึ้นฉ่ายพืชทั้งสองชนิดนี้มีสารเคมี

20. น้ำตาลในเลือดไม่สมดุล กินผักบร็อกโรลี่ และถั่วลิสง คุณประโยชน์ของพืชสมุนไพร

***ตำรานี้ห้ามซื้อขาย หรือคิดเป็นเงินค่ารักษา และขออย่าได้เก็บไว้เป็นส่วนตัวโดยเด็ดขาด หากท่านผู้อื่นรับทราบด้วยใจศรัทธาและกุศลจิตของท่าน ท่านและครอบครัวจะประสบแต่ความสุข

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เผยแพร่ผลงาน

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาชีววิทยา 3 รหัสวิชา ว 43233 เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา
ชื่อผู้รายงาน : นายนิวัฒน์ ประสานพันธ์
รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาชีววิทยา 3 รหัสวิชา ว 43233 เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม เพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาชีววิทยา 3 รหัสวิชา ว 43233 เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา ตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาชีววิทยา 3 รหัสวิชา ว 43233 เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา กับเกณฑ์ร้อยละ 80 และเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยาที่มีต่อชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาชีววิทยา 3 รหัสวิชา ว 43233 เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา ตำบล เสียว อำเภอ เบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาชีววิทยา 3 รหัสวิชา ว 43233 เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา จำนวน 1 ชุด แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t – test (dependent samples)ซึ่งพบว่า
1. ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาชีววิทยา 3 รหัสวิชา ว 43233 เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.77/87.85 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ชุกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาชีววิทยา 3 รหัสวิชา ว 43233 เรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา สูงกว่าก่อนเรียนโดยมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 83.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ค่าเฉลี่ยของความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 63.50 และ ค่า t = 3.592 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการชุดกิจกรรม อยู่ในระดับความพึงพอใจอย่างยิ่ง ค่าเฉลี่ย 4.77 S.D. = 0.42

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

ให้นักเรียนทำกิจกรรม

ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น 8 กลุ่มและทำกิจกรรมต่อไปนี้ โดยส่งกลุ่มละ 1 ชุด (ส่งหลังจากหมดคาบวันศุกร์ที่ 11 ก.ย. 2552)
ให้นักเรียนทำกิจกรรมต่อไปนี้
1. หญิงคนหนึ่งตาปกติมีพ่อเป็นโรคตาบอดสี แต่งงานกับชายตาปกติ แต่มีพ่อเป็นโรคตาบอดสี จงหาร้อยละของลูกที่เป็นโรคตาบอดสี2. โรคกล้ามเนื้อแขนขาลีบเป็นลักษณะด้อยบนโครโมโซม X ถ้าชายเป็นโรคกล้ามเนื้อแขนขาลีบแต่งงานกับหญิงที่เป็นพาหะ ลูกจะมีจีโนไทป์และฟีโนไทป์เป็นอย่างไร อัตราส่วนเท่าใด3. โรคฮีโมฟีเลียควบคุมด้วยยีนด้อยบนโครโมด
โซม X หญิงคนหนึ่งปกติแต่งงานกับชายที่เป็นโรคฮีโมฟิเลีย มีลูกสาวคนหนึ่งเป็นโรคฮีโมฟิเลีย จงหา
3.1 จีโนไทป์ของหญิงชายคู่นี้3.2 จีโนไทป์ของลูกชายและลูกสาวทุกคน3.3 ร้อยละของลูกสาวที่เป็นโรคฮีโมฟิเลีย
4. จากพันธุประวัติ (peddigree) ของครอบครัวหนึ่งที่มีประวัติเกี่ยวกับโรคฮีโมฟิเลีย ดังแผนภาพ

4.1 เหตุใดครอบครัวที่ 1 ลูกชายจึงไม่เป็นโรคฮีโมฟิเลีย4.2 เหตุใดครอบครัวที่ 2 จึงมีลูกชายคนหนึ่งเป็นโรคฮีโมฟิเลีย4.3 ลูกสาวของครอบครัวใดที่เป็นพาหะทุกคน เพราะเหตุใด
5. หมู่เลือดระบบ ABO ในคนควบคุมด้วยยีนบนออโตโซม โรคตาบอดสีควบคุมด้วยยีนด้อยบนโครโมโซมเพศ พ่อและแม่มีหมู่เลือด A และตาปกติทั้งคู่ มีลูกชายคนหนึ่งมีหมู่เลือด O และตาบอดสี จงหาอัตราส่วนของฟีโนไทป์ ดังต่อไปนี้
5.1 ถ้าลูกสาวของพ่อแม่คู่นี้มีหมู่เลือด O และตาปกติ5.2 ถ้าลูกชายของพ่อแม่คู่นี้มีหมู่เลือด A และตาบอดสี
6. จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้
6.1 polygenes6.2 polygenic trait6.3 continuous variation trait6.4 discontinuous variation trait6.5 quantitative trait6.6 sex-linked gene6.7 peddigree6.8 thalassemia6.9 hemophilia
7. การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสสัมพันธ์กับกฎแห่งการแยก และกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระได้อย่างไร ?
8. หนูตัวหนึ่งสร้างสเปริ์มชนิด aBCDE ผสมกับเซลล์ไข่ชนิด abcDe จงหาจีโนไทป์ของลูกที่เกิดจากการปฏิสนธิ และลูกมีโอกาสสร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้กี่ชนิด อะไรบ้าง ?
9. หญิงคนหนึ่งเป็นโรคตาบอดสี เมื่อแต่งงานกับชายตาปกติ
9.1 ลูกชายจะมีโอกาสเป็นโรคตาบอดสีหรือไม่ 9.2 ลูกสาวจะเป็นโรคตาบอดสีหรือเป็นพาหะ
10. ในการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์ทำได้ยากกว่าในพืช จงให้เหตุผลว่าเป็นเพราะเหตุใด ?
11. ชายคนหนึ่งมีฟันเป็นสีน้ำตาล แต่งงานกับหญิงที่มีฟันสีขาว มีลูกสาว 4 คน ทุกคนมีฟันสีน้ำตาล และมีลูกชาย 3 คน ทุกคนมีฟันสีขาว ต่อมาลูกชายทุกคนไปแต่งงานกับหญิงฟันสีขาว ลูกทุกคนมีฟันสีขาว ส่วนลูกสาวคนหนึ่ง (ก) ในจำนวน 4 คน แต่งงานกับชาย (ข) ที่มีฟันสีขาว มีลูกทั้งหมด 4 คน เป็นลุกสาว 2 คน คนหนึ่งมีฟันสีน้ำตาล อีกคนหนึ่งมีฟันสีขาว และลูกชาย 2 คน คนหนึ่งมีฟันสีน้ำตาล และอีกคนหนึ่งมีฟันสีขาว
11.1 จงเขียนสายพันธุประวัติของครอบครัวนี้ 11.2 การถ่ายทอดลักษณะสีฟันของคนในครอบครัว ถูกควบคุมด้วยยีนเด่น หรือ ยีนด้อย และยีนมีตำแหน่งอยู่ที่โครโมโซมชนิดดใด ? 11.3 ถ้าลูกชายมีฟันสีน้ำตาลที่เกิดจาก ก และ ข ไปแต่งงานกับหญิงฟันสีน้ำตาล ซึ่งพ่อมีฟันสีขาว โอกาสที่จะมีลูกชายเป็นฟันสีขาวคิดเป็นอัตราส่วนเท่าใด ?
12. จากการสำรวจ ลักษณะหนังตา และความสูงของนักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนสมเด็จพิทยาคม แล้วนำข้อมูลมาเขียนเป็นกราฟ จะได้กราฟดังภาพ ก และ ข จากข้อมูลนี้บอกอะไรแก่เราบ้าง ?

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ศัพท์ทางพันธุศาสตร์ที่ควรรู้จัก
1. ยีน(gene) คือ ลักษณะทางพันธุกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซม โครโมโซมของคนเรามี23คู่และยีนมีอยู่ประมาณ 50,000 ยีน ยีนเหล่านี้กระจายอยู่ในโครโมโซมแต่ละคู่จะควบคุมการถ่ายทอดลักษณะไปสู่ลูกได้ประมาณ 50,000 ลักษณะ
2. แอลลีล(allele) คือ ยีนที่เป็นคู่เดียวกันเรียกว่าเป็น แอลลีลิก(allelic)ต่อกันหมายความว่าแอลลีลเหล่านั้นจะมีตำแหน่ง เดียวกันบนโครโมโซมที่เป็นคู่กัน(homologous chromosome)
3. เซลล์สืบพันธุ์(gamete) หมายถึง เซลล์เพศ(sex cell)ทั้งไข่(egg)และอสุจิหรือ(sperm)
4. จีโนไทป์(genotype) หมายถึง ยีนที่ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิตเช่นTT,tt,Tt
5. ฟีโนไทป์(phenotype) หมายถึง ลักษณะที่ปรากฏออกมาให้เห็นซึ่งเป็นผลจากการแสดงออกของจีโนไทป์นั่นเอง เช่น TT,Tt มีจีโนไทป์ต่างกันแต่มีฟีโนไทป์เหมือนกัน คือ เป็นต้นสูงทั้งคู่
6. ฮอมอไซโกต(homozygote) หมายถึง คู่ของแอลลีลซึ่งเหมือนกัน เช่น TT จัดเป็นฮอมอไซกัสโดมิแนนต์(homozygous dominant ) เนื่องจากลักษณะทั้งคู่เป็นลักษณะเด่นหรือ tt จัดเป็นฮอมอไซกัสรีเซสซีฟ(homozygous recessive) เนื่องจาก ลักษณะทั้งคู่เป็นลักษณะด้อย ลักษณะที่เป็นฮอมอไซโกตเราเรียกว่า พันธุ์แท้
7. เฮเทอร์โรไซโกต(heterozygote) หมายถึง คู่ของแอลลีลที่ไม่เหมือนกันเช่น Tt ลักษณะของเฮเทอร์โรไซโกตเรียกว่าเป็นพันทาง
8. ลักษณะเด่น(dominant) คือ ลักษณะที่แสดงออกเมื่อเป็นฮอมอไซกัสโดมิแนนต์และเฮเทอร์โรไซโกต9. ลักษณะด้อย(recessive) คือ ลักษณะที่จะถูกข่มเมื่ออยูในรูปของเฮเทอร์โรไซโกตและจะแสดงออกเมื่อเป็นฮอมอไซกัสรีเซสซีฟ
10. ลักษณะเด่นสมบูรณ์(complete dominant) หมายถึง การข่มของลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อยเป็นไปอย่างสมบูรณ์ทำให้ พีโนไทป์ของฮอมอไซกัส โดมิเนนท์และเฮเทอร์โรไซโกตเหมือนกันเช่น TT จะมีพีโนไทป์เหมือนกับ Tt ทุกประกอบ
11. ลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์(incomplete dominant) เป็นการข่มกันอย่างไม่สมบูรณ์ทำให้เฮเทอร์โรไซโกตไม่เหมือนกับฮอมอ ไซกัสโดมิแนนท์ เช่น การผสมดอกไม้สีแดงกับดอกไม้สีขาวได้ดอกสีชมพูแสดงว่าแอลลีลที่ควบคุมลักษณะดอกสีแดงข่มแอลลีลที่ควบ คุมลักษณะดอกสีขาวได้ไม่สมบูรณ์
12. ลักษณะเด่นรวม(co-dominant) เป็นลักษณะที่แอลลีลแต่ละตัวมีลักษณะเด่นกันทั้งคู่ข่มกันไม่ลงทำให้ฟีโนไทป์ของเฮเทอร์ โรไซโกตแสดงออกมาทั้งสองลักษณะ เช่น หมู่เลือด AB ทั้งแอลลีลIAและแอลลีลIBจะแสดงออกในหมู่เลือดทั้งคู่
13.เทสต์ ครอส(test cross) เป็นการผสมระหว่างต้นที่มีฟีโนไทป์เด่นกับต้นที่มีฟีโนไทป์ด้อย เพื่อต้องการทราบว่าต้นลักษณะ เด่นเป็นลักษณะพันธุ์แท้หรือพันธุ์ทาง ถ้าหากต้นที่ผสมซึ่งเป็นลักษณะด้อยนั้นเป็นพ่อแม่จะเรียกการผสมแบบแบค ครอส(back cross)
14. คารีโอไทป์(karyotype) คือ การศึกษาโครโมโซมโดยการถ่ายภาพแล้วนำภาพถ่ายของโครโมโซมมาจัดเรียงเข้าคู่กันและแบ่ง เป็กลุ่มๆได้
15. การถ่ายทอดพันธุกรรมลักษณะเดียว(monohybrid cross)เป็นการผสมพันธุ์ซึ่งเราคำนึงถึงลักษณะเพียงลักษณะเดียวและ มียีนควบคุมอยู่เพียงคู่เดียว
16. การถ่ายทอดพันธุกรรมสองลักษณะ(dihybrid cross) เป็นการผสมที่ศึกษาสองลักษณะในเวลาเดียวกันมียีนควบคุมสองคู่

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การแสดงออกร่วมกันของ gene
ตามปกติในการปรากฎลักษณะต่างๆแต่ละลักษณะ จะถูกควบคุมโดยคู่ gene เพียงคู่เดียวและมีลักษณะต่างๆหลายลักษณะ ในสิ่งมีชีวิตที่ถูกควบคุมโดย gene มากกว่าหนึ่งคู่ โดยแต่ละคู่มีการถ่ายทอดเป็นอิสระแก่กัน แต่มีการทำงานร่วมกันในการปรากฏของลักษณะหนึ่งๆ ปฏิกิริยาระหว่าง gene แต่ละคู่มีผลต่อการแสดงออกร่วมกันของลักษณะนั้นๆซึ่งมีหลายแบบ ดังนั้นอัตราส่วนของฟีโนไทป์ จะแตกต่างไปจากที่ควรจะได้ ตามกฎการแยกจับคู่อย่างอิสระของหน่วยกรรมพันธุ์ ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้แบบเสริมสร้างกัน (complementary gene)เป็น gene ที่ทำงานร่วมกันแบบเสริมสร้างซึ่งกันและกัน เช่น ลักษณะสีของดอกในถั่วชนิดหนึ่งถูกควบคุมด้วย gene 2 คู่ ถ้ามีคู่ gene สำหรับลักษณะเด่นของ gene ทั้งสองคู่ปรากฎอยู่ในจีโนไทป์ ลักษณะที่ปรากฎทางฟีโนไทป์ คือ ดอกสีม่วง แต่ถ้าขาดคู่ gene เด่นตัวใดตัวหนึ่งไป ลักษณะที่ปรากฎทางฟีโนไทป์จะเป็นดอกสีขาว


พอลิจีนและไพลโอทรอพิซึม ( polygene and pleiotropism )
จีนที่กล่าวมาแล้ว เป็นพวกที่แสดงลักษณะออกมาอย่างเด่นชัดเช่น ถั่วที่มีผิวเมล็ดเรียบหรือขรุขระ เนื้อเมล็ดสีเหลือง หรือเขียว และการเกิดหมู่เลือดชนิดต่างๆในคน ลักษณะนี้จัดเป็นพวกที่แสดงลักษณาการทางคุณภาพ (qualitative trait) หรือลักษณะการไม่ต่อเนื่อง (discontinuous trait) คือไม่ว่าจะถูกควบคุมด้วยจีนเพียงคู่เดียวหรือหลายคู่ก็ตาม ผลของการทำงานร่วมกันของจีนจะออกมาในรูปของฟีโนไทป์ใดๆโดยเฉพาะและชัดเจน ไม่มีลักษณะกึ่งกลางหรือต่อเนื่องกัน ทำให้สามารถจัดกลุ่มฟีโนไทป์ได้สะดวกและแน่นอน และสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลไปดัดแปลงการแสดงออกของจีนนั้นๆน้อยหรืออาจไม่มีเลยก็ได้
ในทางตรงข้าม จะพบว่าลักษณะกรรมพันธุ์บางอย่างมีความแตกต่างกันเล็กน้อยอย่างต่อเนื่องจนไม่อาจจัดจำแนกออกเป็นกลุ่มฟีโนไทป์อย่างชัดเจน เหมือนอย่างในกรณีแรก ตัวอย่าง เช่น ลักษณะความสูง สติปัญญา สีผิวของคน ลักษณะดังกล่าวนี้มีความแปรผันอย่างมาก จึงจัดเป็นลักษณาการทางปริมาณ (quantitative trait)หรือลักษณาการ ต่อเนื่อง (continuous trait) เพราะสามารถวัดหาขนาดหรือปริมาณ หรือวิเคราะห์ในเชิงปริมาณได้ อย่างเช่น ความสูงของคนส่วนมากก็มีขนาดใกล้เคียงกันและลดหลั่นกันไปตามลำดับ จนกระทั่งพบว่าคนที่สูงมากหรือเตี้ยมากมีจำนวนไม่มากนัก ซึ่งทำให้ลักษณะความสูงของคนมีสภาพการกระจายแบบโค้งปกติ (normal distribution curve)ลักษณะกรรมพันธุ์เช่นนี้เกิดจากปัจจัยร่วมกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเกี่ยวกับอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต จึงเป็นการยากที่จะกล่าวว่าปัจจัยใดๆมีความสำคัญหรือมีบทบาทต่อการแสดงออกทางฟีโนไทป์ได้มากกว่ากัน
สมมุติฐานที่ใช้อธิบายการถ่ายทอดลักษณะกรรมพันธุ์แบบต่อเนื่อง คือมีจีน หรือกลุ่ม จีนหลายคู่ที่เรียกว่า พอลิจีน (polygene) ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะเดียวกัน คู่จีนเหล่านี้อาจมีตำแหน่ง ต่างกันภายในโครโมโซมคู่เดียวกัน หรืออยู่บนโครโมโซมต่างคู่กันก็ได้โดยจีนแต่ละคู่จะส่งผลต่อการแสดงออกของลักษณะนั้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในขณะที่สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลช่วยเสริมการแสดงออกทางฟีโนไทป์พอสมควร จึงทำให้ลักษณะที่แสดงออกทางฟีโนไทป์แตกต่างแปรผันอย่างมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม สีของเมล็ดของข้าวสาลี เป็นตัวอย่างการถ่ายทอดลักษณะกรรมพันธุ์แบบต่อเนื่องลักษณะนี้มีจีนที่ควบคุมเพียง 3 คู่สมมุติว่าจีน P ให้สีแดง และมีจีนอีก 2 คู่ คือ Q และ R ซึ่งอยู่ที่ตำแหน่งอื่น และต่างก็ให้สีแดงด้วย (ให้ + แทนสัญลักษณ์การเกิดสีแดง) คู่จีนของจีนเหล่านี้ คือ p, q และ r มีคุณสมบัติทำให้ไม่เกิดสี(ใช้สัญลักษณ์ - ) และกำหนดด้วยว่าจีนที่ควบคุมการมีสีแดง หรือไม่มีสี มีสมบัติแสดงออกเท่าๆกัน จะเห็นได้ว่า เมล็ดข้าวสาลีที่มีจีโนไทป์ ppqqrr แสดงลักษณะเมล็ดสีขาว (- - - - - -) ส่วนพวกจีโนไทป์ PPQQRR แสดงสีแดงเข้ม (++++++) สำหรับจีโนไทป์แบบอื่นๆ จะเป็นดังนี้คือ Ppqqrr แสดงลักษณะสีชมพูอ่อน (+- - - -) และ PPqqrr (++ - - - -) ,ppQQrr (- - ++ - -), ppqqRR (- - - - ++) ต่างก็มีสีชมพู หากจีโนไทป์มีจีนควบคุมให้มีสีแดงจำนวนมากขึ้น สีของเมล็ดก็จะเข้มขึ้นเป็นลำดับ และจะจำแนกความแตกต่างของจีโนไทป์ได้ถึง 7 แบบ ถ้ามีคู่ของจีนที่ควบคุมลักษณะเดียวกันเพิ่มมากขึ้นเท่าใด ก็จะได้จำนวนฟีโนไทป์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย จนเมื่อดูจากฟีโนไทป์ไม่อาจทราบได้ว่าจำนวนจีนที่ควบคุมมีเท่าใด แต่อาจประมาณได้โดยใช้หลักเกณฑ์ทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย (mean) และค่าของความแปรผัน (Variance) ถ้าค่าของความแปรผันมาก แสดงว่ามีจีนที่ควบคุมลักษณะนั้นน้อย แต่ถ้าค่าความแปรผันน้อย แสดงว่าจีนที่ควบคุมมีมาก ถ้าจะกล่าวว่า ความเด่นด้อยของคู่จีนในลักษณะปริมาณไม่มีเลยก็ไม่ถูกต้องนัก เพราะที่ปรากฏมักจะเกิดลักษณะเด่นแท้ (complete dominance) และเด่นไม่สมบูรณ์ (incomplete dominance) ทำให้การกระจายของฟีโนไทป์ในรุ่นลูก F2 ไม่กระจายอย่างปกติแต่จะเบนไปทางปลายใดปลายหนึ่ง และเป็นปัญหาในการทำการผสมพันธุ์พืช ซึ่งมักมีลักษณะทางกรรมพันธุ์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นประเภทลักษณะปริมาณ เพราะการเกิดความเด่นด้อยนี้เองเป็นผลทำให้ลูกที่เกิดจากการผสมพืชที่ปลายข้างใดข้างหนึ่งของโค้งการกระจายแสดงลักษณะไม่เท่ากับพ่อแม่ เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า การถดถอย ( regression )
เมื่อกล่าวถึงลักษณะหนึ่งๆที่ถูกควบคุมด้วยจีนหลายๆคู่แล้ว ก็มีคำถามว่าแล้วจีนคู่หนึ่งๆ จะทำหน้าที่ควบคุมลักษณะหลายๆลักษณะได้หรือไม่ หรือที่เรียกว่ามีไพลโอทรอปิกเอฟเฟกต์ (pleiotropic effect) คำตอบก็คือเป็นไปได้ เช่นในแมลงหวี่ 2 สายพันธุ์ที่มีจีโนไทป์ เหมือนกันทุกประการ ยกเว้นจีนที่ควบคุมสีตา โดยสายพันธุ์หนึ่งมีตาสีแดงและอีกสายพันธุ์หนึ่งมีตาสีขาว เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางต่อความสูงของถุงเก็บน้ำเชื้อตัวผู้ในตัวเมียของทั้งสองสายพันธุ์นี้ ปรากฏว่าความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแสดงว่าจีนนี้เป็นไพลโอทรอปิกจีน คือควบคุมทั้งสีตา และขนาดของถุงเก็บน้ำเชื้อตัวผู้ในตัวเมีย เป็นต้นลีทัลจีน (lethal gene)
ลีทัลจีน เป็นจีนที่ทำให้เกิดความผิดปกติในการเจริญของเอมบริโอ มีผลทำให้เอมบริโอตายก่อน จะทำการสืบพันธุ์ได้เมื่ออยู่ในสภาพฮอมอไซโกตหรือเมื่ออยู่ในสภาพเฮเทอโรไซโกต อาจจะแสดงออกหรือไม่ก็ได้
ลีทัลจีน อาจแสดงเป็นลักษณะเด่นหรือด้อยก็ได้ แต่พวกที่มีลักษณะเด่นมักจะทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีจีนนั้นตายไปทันที จีนนี้เมื่อเกิดขึ้นจึงไม่มีโอกาสถูกถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกต่อไปได้ ดังนั้นพวกลีทัลจีนที่สำคัญคือ พวกที่เป็นลักษณะด้อย เมื่อเกิดขึ้นก็จะเป็นภาระหนักต่อกลุ่มส่วนร่วม เพราะลักษณะลีทัลจีนนี้จะแสดงออกก็ต่อเมื่ออยู่ในภาวะฮอมอไซโกตเท่านั้น ส่วนพวกที่เป็นพาหะ ( carrier) จะมีความสามารถที่จะถ่ายทอดจีนได้ต่อไปเรื่อยๆทั้งที่จีนนี้ก็มีผลทำให้เกิดความผิดปกติเช่นกัน ตัวอย่างของลีทัลจีนที่รู้จักกันดีมีอยู่หลายชนิดพบทั้งพืชและสัตว์รวมทั้งคนด้วย
ในไก่มีจีนลักษณะเด่น (C) ทำให้เกิดเป็นอันตราย เฉพาะเมื่ออยู่ในสภาพฮอมอไซโกต แต่ถ้าอยู่ในสภาพเฮเทอโรไซโกต จะก่อให้เกิดความผิดปกติ ที่เรียกว่า ครีเพอร์ (creeper) คือ ทำให้ไก่นั้นมีขาสั้นและงอมากกว่าปกติ เมื่อเอาไก่ครีเพอร์ผสมกับครีเพอร์ด้วยกันเอง ปรากฏว่าได้อัตราส่วนของครีเพอร์ต่อลักษณะปกติ เป็น 2 : 1 แทนที่จะได้ 3 : 1 ทั้งนี้เพราะจีโนไทป์ที่หายไปคือ CC อาจพิสูจน์ได้ว่าลูกไก่ครีเพอร์ที่ได้เป็นเฮเทอไซโกต เพราะเมื่อนำผสมกลับ (backcross) กับไก่ปกติจะได้ลูกออกมาเป็นอัตราส่วนของครีเพอร์ต่อปกติเป็น 1 : 1 ดังนั้น จีน C มีลักษณะเด่นทำให้ เอมบริโอตายก่อนที่จะฟักออกมาเป็นลูกไก่
ในพืชพวกลิ้นมังกร (Antirhinum majus) การเกิดลักษณะใบเหลืองเป็นผลมาจากจีนเด่นที่เรียกว่า ออเรีย (aurea) ปกติพืชที่พบจะมีใบชนิดสีเขียวหรือสีเขียวอ่อน เมื่อเอาพวกใบสีเขียวผสมกับพวกใบสีเขียว จะได้ต้นกล้าสีเขียวทั้งหมด แต่เมื่อเอาต้นออเรียผสมกันเองจะได้ต้นกล้าสีเขียว : ออเรีย : ขาว = 1 : 2 : 1 ต้นกล้าสีขาวมักจะตายไป เพราะขาดคลอโรฟิลล์ จึงไม่สามารถสังเคราะห์อาหารเพิ่มได้ หลังจากใช้อาหารที่สะสมไว้ในเมล็ดหมดไปแล้ว ดังนั้นเมื่อพืชโตเต็มที่จะได้อัตราส่วนของต้นสีเขียว : ต้นออเรีย เป็น 1 : 2 อัตราส่วนนี้เบี่ยงเบนจากอัตราส่วนที่ควรจะเป็น คือ 1 : 2 : 1 ตามหลักของเมนเดล ทั้งนี้เพราะลิ้นมังกรมี ลีทัลจีน เป็นลักษณะเด่นอยู่ ลีทัลจีนอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยการเปลี่ยนแปลงของจีน แต่เกิดในอัตราที่ต่ำมากในภาวะปกติ และอาจเหนี่ยวนำให้เกิดลีทัลจีนขึ้นมาได้โดยใช้สารเคมี หรือรังสีต่าง ๆ

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทคัดย่อ I.S

เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การจำลองโมเลกุล DNA ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Jigsaw ร่วมกับ Student Team Achievement Division
การค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การจำลองโมเลกุล DNA ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Jigsaw ร่วมกับ Student Team Achievement Division (STAD) ซึ่งศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน และเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Jigsaw ร่วมกับ STAD กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา ที่เรียนรายวิชาชีววิทยา (เพิ่มเติม) จำนวน 30 คน เลือกโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มที่มีระดับผลการเรียนอ่อน ปานกลาง และเก่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคการสอนแบบ Jigsaw ร่วมกับ STAD แบบจำลองโครงสร้าง DNA สื่อแบบแอนิเมชั่น เรื่อง การจำลองโมเลกุล DNA แบบทดสอบ เรื่อง สารพันธุกรรม และแบบสอบถาม ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Jigsaw ร่วมกับ STAD เรื่อง การจำลองโมเลกุล DNA จากการศึกษาพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การจำลองโมเลกุล DNA ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคดังกล่าว สูงกว่าก่อนเรียนโดยมีค่าเฉลี่ยของความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 17.00 และ ค่า t = 3.42 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนเห็นด้วยกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Jigsaw ร่วมกับ STAD เรื่อง การจำลองโมเลกุล DNA มีค่าอยู่ในระดับเห็นด้วยมากร้อยละ 45.78

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552

คู่ครัวคู่สุขภาพ

สวัสดีครับ
สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโคเรสเตอรอล ผู้สูงอายุหรือผู้ที่กำลังเสี่ยงต่อภาวะโรคหัวใจ พอดีผมไปอ่านเจอเลยคิดว่านำมาฝากอาจเป็นประโยชน์ต่อท่าผู้อ่านบ้าง ลองนำไปใช้ดูนะครับเพราะมีทั้งเรื่องการเลือกกินอาหารและการปรุงอาหาร

Ø คนที่มีระดับโคเรสเตอรอลสูง สัปดาห์หนึ่งควรกินไข่ไก่ไม่เกิน 3 ฟอง แต่ถ้าจะหันมากินตับหมูแทนในปริมาณจำกัด ก็จะได้สารอาหารที่มีประโยชน์ไม่น้อย เพราะตับมีโคเรสเตอรอลน้อยกว่าไข่ไก่
Ø เวลาผัดเนื้อกุ้งอย่าใช้ไฟแรง ให้ผัดเร็วๆและรีบตักขึ้น เนื้อกุ้งจะได้นิ่มน่ากิน
Ø หอมใหญ่เป็นสิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้เลยในการปรุงอาหารทะเลและเครื่องในสัตว์
มีคุณสมบัติช่วยลดโคเรสเตอรอลและอุดมด้วยฟอสฟอรัสช่วยเสริมความจำให้ดีขึ้น ถ้าวันไหนกินเนื้อสัตว์มากไปก็ให้กินหอมใหญ่มากหน่อย เพื่อช่วยปรับระดับโคเรสเตอรอล
Ø สาหร่ายทะเลเป็นอาหารที่ดีสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจช่วยลดคอเลสเทอรอล ลดความดันโลหิต โดยเฉพาะสาหร่ายไห่ใต้มีคุณสมบัติในการป้องกันมะเร็ง
Ø การผัดเนื้อปลา ควรเลือกปลาขนาดกลาง ๆ มาแล่เนื้อผัดจะได้เนื้อปลาที่นุ่มน่ากิน
Ø ผู้ที่มีโคเรสเตอรอลสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านขั้นตอนการผลิตซับซ้อน เช่น ไส้กรอกเบคอน กุนเชียง หมูยอ แหนม เนื้อบดกระป๋อง เป็นต้น
Ø ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ไม่ควรให้กินอาหารแต่ละมื้อให้อิ่มเกินไปและไม่ควรอาบน้ำทันทีหลังกินอาหารอิ่ม
Ø ปลิงทะเลปราศจากโคเรสเตอรอลช่วยป้องกันความดันโลหิตสูง ช่วยให้ระบบย่อยดีขึ้น เสริมสร้างตับและไตให้แข็งแรง
Ø ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเป็นอาหารบำรุงเลือด อุดมด้วยฟอสฟอรัสซึ่งมีประโยชน์ต่อระบบประสาท นอกจากนี้เลซิทินในถั่วเหลืองยังมีบทบาทช่วยลดโคเรสเตอรอลอีกด้วย
Ø วิธีแช่กระเพาะปลาที่ทอดแล้วให้นิ่ม ก็คือ หลังจากทอดแล้วทิ้งให้สะเด็ดน้ำมัน แช่ในน้ำเปล่าจนนิ่ม บีบน้ำออก ใส่น้ำอุ่น ใส่เกลือนิดหน่อยเพื่อล้างคราบน้ำมันออก แล้วล้างน้ำเย็นอีกหลาย ๆ หน
Ø ใช้กะทะเหล็ก ผัด ทอด ต้มอาหารช่วยให้ร้อนเร็วขึ้นและยังเพิ่มธาตุเหล็กให้แก่อาหารจานนั้นอีกด้วย
Ø ไอโอดีนในอาหารทะเล ช่วยป้องกันการสะสมไขมันในเส้นเลือด
Ø เวลาทอดเนื้อปลาต้องรอจนน้ำมันเดือดพล่าน พอใส่ชิ้นปลาลงไปค่อยหรี่ไฟกลาง ทอดพอเป็นสีเหลืองอ่อน และค่อยใช้ไฟแรงเพื่อไล่น้ำมันออกไป เวลากินจะไม่รู้สึกเลี่ยน
Ø วิตามิน B3 (ไนอาซิน ) มีส่วนลดโคเรสเตอรอล มีมากในถั่วต่าง ๆ ข้าวกล้อง เห็ดสดและวีทเยิร์ม เป็นต้น
Ø จากการวิจัยที่สหรัฐอเมริกาครั้งล่าสุดพบว่า การขาดแมกนีเซียมเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ หลายโรค เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ประจำเดือนผิดปกติ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย อาหารที่มีแมกนีเซียม ได้แก่ พืชผัก ถั่วต่าง ๆ และอาหารทะเล
Ø วิตามิน มีบทบาทเป็นอย่างมากในการป้องกันและบำบัดปัญหาโคเรสเตอรอลสูง

ช่วยให้โคเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สลายตัวได้ง่ายขึ้น
Ø ดื่มน้ำหัวผักกาดวันละ 2 ครั้ง ครั้งละหนึ่งถ้วยตะไล จะช่วยลดความดันโลหิตสูง
Ø แตงกวาร้านมีวิตามิน A , C โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัสมากกว่าแตงประเภทอื่น เช่น แตงกวา ฟัก บวบ
Ø ถั่วแระอุดมด้วยเลซิทินและโปรตีนเหมาะสำหรับผู้ที่มีโคเรสเตอรอลสูง
Ø เวลาซื้อเต้าหู้จากตลาดต้องการจะเก็บให้สดใหม่ ให้ล้างด้วยน้ำเย็น ใส่กล่องพลาสติกปิดฝาให้มิดชิด หรือใช้แผ่นพลาสติกใสหุ้มก่อน เก็บเข้าตู้เย็นใต้ชั้นฟรีซ เวลาใช้เต้าหู้ปรุงอาหาร ควรปรุงร่วมกับขิงเพื่อขจัดกลิ่นเต้าหู้ และควรเหยาะเกลือนิดหน่อย เพื่อช่วยรักษาความสดของเต้าหู้เอาไว้
Ø วิตามิน B6 มีปะระโยชน์ช่วยลดโคเรสเตอรอลมีมากในรำข้าว โยเกิร์ต ตับ ข้าวกล้อง เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ นม ถั่ว
Ø การเคี้ยวอาหารแต่ละคำให้ละเอียดก่อนกลืน นอกจากจะช่วยให้ระบบย่อยดี ร่างกายสามารถดูดซึมอาหารได้มากขึ้นแล้ว จากการวิจัยยังพบว่า หากทำเป็นนิสัยติดต่อกันนานประมาณ 4- 5 เดือน จะช่วยลดความอ้วน ลดโคเรสเตอรอล และลดความดันโลหิตอีกด้วย
Ø ขิง กระเทียม หอมใหญ่ หอมแดง แครอท ถั่วงอก ปลาทะเล เป็นอาหารที่ช่วยลดโคเรสเตอรอลถือเป็นตัวละลายไขมันได้เป็นอย่างดี
Ø กินผักกาดขาวบ่อยๆ ช่วยป้องกันริมฝีปากแตกแห้ง และป้องกันการเป็นซีสต์ในตา
Ø คนที่ความดันโลหิตสูงหรือเป็นโรคหัวใจ ควรเลือกกินอาหารที่มีโพแทสเซียม เพราะมีคุณสมบัติช่วยปกป้องเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ มีอยู่ในผักกวางตุ้ง ผักขม มะระ ผักกาดขาว มะเขือเทศ มันฝรั่ง เผือก เห็ดนางฟ้า เป็นต้น
Ø กินน้ำต้มพุทราจีนแดง(อั้งจ้อ) กับก้านขึ้นฉ่ายช่วยลดโคเลสเตอรอล
Ø แช่เนื้อในน้ำส้มผสมน้ำมัน น้ำตาล เกลือ เครื่องเทศ จะช่วยชูรสและทำให้เนื้อนุ่ม ยิ่งถ้าแช่ค้างคืนในตู้เย็น เนื้อจะยิ่งอร่อยมากขึ้น
Ø การดื่มน้ำส้มคั้นตอนเช้า 1 แก้ว ในมื้อเช้าเป็นการเพิ่มวิตามิน C แก่ร่างกาย ช่วยลดโคเรสเตอรอล ป้องกันหลอดเลือดแข็ง และโรคหัวใจได้
Ø ผู้ที่มีโคเลสเตอรอลสูง ควรหันมาดื่มชาจีนอ่อนๆแทนกาแฟ โดยเฉพาะชาเขียว มีวิตามิน C มาก แต่ชาแดงไม่มีวิตามิน C เลย
Ø เนื้ออกไก่เหมาะสำหรับใช้ผัด ผัดออกมาแล้วเนื้อนุ่มน่ากิน
Ø วิธีทำน้ำสต็อกไก่แบบจีน จะใช้ส่วนหัว กระดูก คอ สับเป็นชิ้นเล็ก ล้างแล้วลวกน้ำเดือด ใส่ลงต้มพร้อมน้ำค่อนหม้อ ใช้ไฟอ่อนเคี่ยวจนมีน้ำมันออก ช้อนฟองออก ใส่ต้นหอม ขิง เหล้าเล็กน้อย เคี่ยวอีกหนึ่งชั่วโมง จึงกรองเอาแต่น้ำสต็อกใสๆ
Ø อาหารจีนมักใช้น้ำมันงาเป็นส่วนประกอบเพราะมีกลิ่นหอมชวนกิน น้ำมันงาช่วยลดโคเรสเตอรอล เหมาะสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแข็งตัว ช่วยบำรุงสมอง บำรุงผม